วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คอมพิวเตอร์คืออะไร



ปัจจุบันจะพบว่าคอมพิวเตอร์มีหลากหลายลักษณะ หลากหลายรูปแบบ ทั้งคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ข้อมูลสำรอง คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่ชัดเจนในตัวของมันเอง คือ เครื่องคำนวณ ในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้น ไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆ ไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึก

การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์



การเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การต่อระบบไฟและสายเมาส์-คีย์บอร์ด
1.การต่อสายสัญญาณ
-วีจีเอ พอร์ต (VGA Port)
-พอร์ตอนุกรม (Serial Port)
-พอร์ตขนาน (Pararell Port)
-พอร์ตยูเอสบี (USB Port)
-พอร์ตมัลติมีเดีย (Multimedia Port)
2. การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง
-การต่อเครื่องพิมพ์
-การติดตั้งใช้งานโมเด็ม
-โมเด็มแบบภายใน(Internal)
-โมเด็มแบบภายนอก(External)

คอมพิวเตอร์ภายในองค์กร



3. ข้อมูลข่าวสาร (Content)
คือเนื้อหาสาระที่สำคัญ การดำเนินการขององค์กรเกี่ยวข้องกับการผลิต การประมวลผล การสรุปผล การทำรายงาน การดำเนินการสื่อสารระหว่างกัน การกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นกับเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น ในองค์กรต้องให้ความสำคัญในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ทำอย่างไรจึงจะให้ข้อมูลข่าวสารเข้าไปโลดแล่นอยู่ในระบบและใช้งานได้อย่างเต็มที่
4. บุคลากร (Peopleware)
ความสำคัญของบุคลากร คือบุคคลที่สำคัญ และเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และหากต้องให้งานมีประสิทธิผลมากที่สุด จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากร มีการฝึกอบรมหรือดำเนินการให้บุคลากรหันมาให้ความสำคัญ และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร ความสามารถของบุคลากรจึงเป็นฐานสำคัญในการใช้ไอทีเพื่อประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวม

ประเภทของบุคลากรในงานคอมพิวเตอร์
-ระดับผู้บริหาร (Administration) ได้แก่ Electronic Data Processing manager :EDP
-ระดับวิชาการ (Technical) ได้แก่ System Analyst and Designer, Programmer
-ระดับปฏิบัติการ (Operation) ได้แก่ Computer Operator, Keypunch Operator, Data Entry


5. ระเบียบวิธีการปฏิบัติ (Procedure)
บางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสอดคล้องกับวิถีการทำงานแนวใหม่ กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ หรืออาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานบางอย่างขององค์กร บางองค์กรจึงมีการปรับเปลี่ยนขั้นรุนแรงถึงขั้นรือปรับระบบ (Re-en-gineering) เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการทำงานแนวใหม่ที่มีไอทีเข้ามาสนับสนุน
*พัฒนาการทั้ง "ห้าองค์ประกอบ" นี้ต้องไปด้วยกัน จะเลือกองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้ หากองค์ประกอบหนึ่งองค์ประกอบใดไม่ได้รับการพัฒนา ย่อมทำให้ระบบโดยรวมขององค์กรมีปัญหา เช่น มีการซื้อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลที่ทันสมัย มีซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้เป็นเลิศ แต่ ขาดการดำเนินการกับข้อมูลข่าวสารที่ดี หรือเกือบจะไม่มีข้อมูลข่าวสารใด การลงทุนนั้นก็ดูจะสูญเปล่า

คอมพิวเตอร์ภายในองค์กร


ภายในองค์กรมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา และจัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการใช้ไอทีหลายอย่าง แต่ละอย่างมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การพัฒนาต้องพัฒนาไปทั้ง "ห้าองค์ประกอบ" นี้ ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ข่าวสาร คน และระเบียบวิธีปฏิบัติ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ เป็นเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกในการทำงาน การวางรากฐานการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ ใช้ระบบการประมวลผลที่ทำให้ทำงานได้รวดเร็วแม่นยำ มีระบบการเชื่อมโยงสื่อสาร เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางไปถึง และประสานการทำงานเป็นระบบได้ ฮาร์ดแวร์จึงรวมไปถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
ความสำคัญของซอฟต์แวร์ หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้

ส่วนประกอบภายในและการทำงาน



1.หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit ; CPU)
2.หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง (Data & Programming Memory)
3.เมนบอร์ด (Mainboard)
4.ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk )
5.ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)
6.ฟล๊อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive )
7.ช่องขยาย (Slot)
8.แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)

ส่วนประกอบภายนอกและการใช้งาน



1.จอภาพ (Monitor)
2.เคส (Case)
3.คีย์บอร์ด (Keyboard)
4.เมาส์ (Mouse)
5.ลำโพง(Speaker)
6.เครื่องสำรองไฟ (UPS)

งานคอมพิวเตอร์กับงานการศึกษา



ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด การจัดทำตารางสอน เป็นต้น
ตัวอย่าง ในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมฝ่ายทะเบียนวัดผลโปรแกรมตรวจข้อสอบ เป็นต้น